ถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย เมื่อบินไปกับ PIM AIR หลักสูตรการจัดการธุรกิจการบิน PIM ตอบสนองต่อการขยายตัวของภาคขนส่งทางอากาศ ซึ่งประเทศไทยของเราพร้อมแล้วที่จะเป็นฮับแห่งอาเซียน บุคลากรด้านธุรกิจการบิน จึงนับเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาธุรกิจการบิน ให้ก้าวไกลทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน Bachelor of Business Administration Program in Aviation Business Management
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจการบิน)
(อักษรย่อ) : บธ.บ. (การจัดการธุรกิจการบิน)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Bachelor of Business Administration (Aviation Business Management)
(อักษรย่อ) : B.B.A. (Aviation Business Management)
ความเป็นมาและจุดเด่นของสาขา
อุตสาหกรรมการบิน เป็นอุตสาหกรรมสาขาหนึ่งของกระบวนการงานด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมการบิน มีความสำคัญและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากภาวะความต้องการในการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วขึ้น การตอบสนองด้านการท่องเที่ยว การประกอบธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่สำคัญประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนั่นหมายถึงการติดต่อค้าขาย การเจรจา การศึกษา แรงงาน การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน 10 ประเทศ จะเกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นศูนย์กลางของอาเซียนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในแง่ของชัยภูมิที่ตั้ง และประเทศไทยได้มีความคาดหวังว่า จะเป็นประเทศศูนย์กลางด้านการขนส่งทางอากาศ หรือที่เรียกว่า ฮับการขนส่งทางอากาศ ของอาเซียน เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2558 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า
ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อจะก้าวเข้าสู่ความเป็น ศูนย์กลางด้านการขนส่งทางอากาศของอาเซียนทั้งในด้าน สนามบิน เครื่องมือและองค์ประกอบด้านการบิน และบุคลากรด้านธุรกิจการบิน ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการนำพาธุรกิจด้านการบินและการขนส่งทางอากาศของประเทศไทยพัฒนาให้ก้าวหน้าและทันสมัย เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพ-ปริมณฑล ที่เป็นแหล่งความต้องการแรงงานและแหล่งกระจายสินค้า คน และการบริการ ไปยังทั่วทุกภาคของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน และยังตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อตอบสนองต่อธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่องโดยสามารถใช้เขตพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ต่อหลักสูตร และเชิญผู้มีประสบการณ์ในสายงานมาบรรยายเสริมให้หลักสูตรมีความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีการศึกษาดูงานจากสภาพการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการต่างๆ และการฝึกงานภาคสนามในเขตพื้นที่กรุงเทพ-ปริมณฑลเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะการปฏิบัติงานจริง จึงเป็นโอกาสที่ดีในการที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรของประเทศ เพื่อตอบสนองต่อการเปิดเสรีทางการค้า และการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
วัตถุประสงค์
1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านธุรกิจการบิน โดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
2. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจการบิน และอุตสาหกรรมการบริการอื่นๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้
3. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นผู้นำ มีความใฝ่รู้ สามารถใช้ความรู้ด้านภาษาในการพูด และเขียน รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี
แนวทางการประกอบอาชีพ
เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในสายการบริหารจัดการด้านธุรกิจการบิน
และอุตสาหกรรมการบริการ เช่น
– พนักงานบริการและต้อนรับบนเครื่องบิน (แอร์โฮสเตส และสจ๊วต)
– เจ้าหน้าที่บริการและต้อนรับภาคพื้น
– เจ้าหน้าที่ฝ่ายขนส่งสินค้าทางอากาศ เจ้าหน้าที่แผนกคลังสินค้าทางอากาศ (Air Cargo)
– เจ้าหน้าที่ในองค์การและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบิน เช่น การท่าอากาศ ยานแห่งประเทศไทย
– เจ้าหน้าที่แผนกสำรองที่นั่งและจัดจำหน่ายบัตรโดยสารของบริษัท ตัวแทนการท่องเที่ยว
ตัวแทนส่งเสริมการตลาดสายการบิน ชิปปิ้งสายการบิน
– ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเป็นอาจารย์สถาบันการศึกษา วิทยากรบรรยาย ฯลฯ
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา
3. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีที่โทษนั้นเกิดจากความผิดอันกระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
4. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ โรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือติดยาเสพติด
5. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตที่ศึกษาตลอดหลักสูตร 129 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต ประกอบด้วย
1) วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานเพื่อการสื่อสารในธุรกิจการบิน
2) วิชาว่ายน้ำและพลศึกษา
2. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต ประกอบด้วย 4 กลุ่มวิชาดังนี้
1) กลุ่มวิชาภาษา จำนวน 15 หน่วยกิต
1.1) กลุ่มภาษาไทย จำนวน 3 หน่วยกิต
1.2) กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 12 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต
4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวน 3 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 93 หน่วยกิต ประกอบด้วย 3 กลุ่มวิชาดังนี้
1) กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ จำนวน 24 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 57 หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาเลือก จำนวน 12 หน่วยกิต
4. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
แผนการศึกษา
แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร สำหรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
รหัสวิชา | รายวิชา | จำนวน | รหัสวิชา | รายวิชา | จำนวน |
หน่วยกิต | หน่วยกิต | ||||
AV 62101 | ว่ายน้ำและพลศึกษา | 0 | AV 62104 | การเรียนรู้ภาคปฎิบัติด้านธุรกิจการบิน 1 | 3 |
AV 62102 | ภาษาอังกฤษพื้นฐานเพื่อการสื่อสารในธุรกิจการบิน | 0 | EN 60102 | ภาษาอังกฤษในชีวิตจริง | 2 |
AV 62103 | อภิธานศัพท์การบิน | 2 | SO 60106 | สังคมศาสตร์บูรณาการ | 3 |
TH 60102 | ภาษากับวัฒนธรรมไทย | 3 | HM 60112 | มนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต | 3 |
EN 60101 | ภาษาอังกฤษพื้นฐาน | 2 | AV 62201 | หลักการจัดการธุรกิจการบิน | 3 |
SO 60102 | ประชาคมโลกกับอาเซียน | 3 | AV 62202 | การจัดการองค์การด้านการบริการและการท่องเที่ยว | 3 |
HM 60102 | หมากล้อมกับการพัฒนาความคิด | 3 | |||
SC 60103 | การใช้โปรแกรมประยุกต์ในองค์กรสมัยใหม่ | 3 | |||
รวม | 16 | รวม | 17 | ||
ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
รหัสวิชา | รายวิชา | จำนวน | รหัสวิชา | รายวิชา | จำนวน |
หน่วยกิต | หน่วยกิต | ||||
EN 60103 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน | 2 | EN 60207 | ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน | 2 |
BA 60101 | การตลาดเพื่อการจัดการธุรกิจ | 3 | BA 60203 | การบัญชีบริหารเพื่อการจัดการธุรกิจ | 3 |
BA 60102 | การจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล | 3 | BA 60307 | เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการธุรกิจ | 3 |
AV 62203 | พื้นฐานภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจการบิน | 2 | AV 62205 | การจัดการงานคลังสินค้าทางอากาศ | 3 |
AV 62204 | การตลาดในกิจการสายการบิน | 3 | AV 62206 | การเรียนรู้ภาคปฏิบัติด้านธุรกิจการบิน 2 | 3 |
xx xxxxx | กลุ่มวิชาเลือก 1 | 3 | xx xxxxx | กลุ่มวิชาเลือก 2 | 3 |
รวม | 16 | รวม | 17 | ||
ปี 3 ภาคการศึกษาที่ 1 | ปี 3 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
รหัสวิชา | รายวิชา | จำนวน | รหัสวิชา | รายวิชา | จำนวน |
หน่วยกิต | หน่วยกิต | ||||
EN 60309 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสมัครและสัมภาษณ์งาน | 2 | EN 60417 | ภาษาอังกฤษสำหรับการสอบวัดมาตรฐาน | 2 |
BA 57208 | การวิเคราะห์เชิงปริมาณและสถิติธุรกิจ | 3 | AV 62304 | ความปลอดภัยทางการบินเบื้องต้น | 3 |
AV 62301 | การจัดการงานบริการบนเครื่องบิน | 3 | AV 62305 | การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ | 2 |
AV 62302 | การจัดการงานบริการผู้โดยสารภาคพื้น | 3 | AV 62306 | การฟังและพูดภาษาจีนสำหรับธุรกิจการบิน | 3 |
AV 62303 | การจัดการท่าอากาศยาน | 3 | AV 62307 | การเรียนรู้ภาคปฏิบัติด้านธุรกิจการบิน 3 | 3 |
xx xxxxx | กลุ่มวิชาเลือกเสรี 1 | 3 | xx xxxxx | กลุ่มวิชาเลือก 3 | 3 |
รวม | 17 | รวม | 16 | ||
ปี 4 ภาคการศึกษาที่ 1 | ปี 4 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
รหัสวิชา | รายวิชา | จำนวน | รหัสวิชา | รายวิชา | จำนวน |
หน่วยกิต | หน่วยกิต | ||||
AV 62401 | การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับการบิน | 3 | AV 62406 | การเรียนรู้ภาคปฏิบัติด้านธุรกิจการบิน 4 | 3 |
AV 62402 | ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจการบินขั้นสูง | 3 | |||
AV 62403 | การจัดการควบคุมจราจรทางอากาศ | 1 | |||
AV 62404 | สัมมนาธุรกิจการบิน | 3 | |||
AV 62405 | กฏหมายและระเบียบการบินพลเรือน | 3 | |||
xx xxxxx | กลุ่มวิชาเลือก 4 | 3 | |||
xx xxxxx | กลุ่มวิชาเลือกเสรี 2 | 3 | |||
รวม | 18 | รวม | 3 |
องค์กรที่นักศึกษา PIM เข้ารับการฝึกภาคปฏิบัติ
– สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (The Civil Aviation Authority of Thailand: CAAT) – บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) ท่าอากาศยานดอนเมือง – บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – สายการบิน Thai Lion Air – สายการบิน Nok Air – สายการบิน Thai AirAsia – สายการบิน Thai AirAsia X – สายการบิน Mjet – สายการบิน Hainan Airlines – สายการบิน Oman Air – สายการบิน Cathay Pacific – สายการบิน Bangkok Airways – สายการบิน Vietjet Air – สายการบิน Thai Smile Airways – ศูนย์ฝึกลูกเรือการบินไทย – บริษัท Thai Ground Services (TGGS) – บริษัท Bangkok Flight Services (BFS () – บริษัท BAGS Ground Services Co.,Ltd. – บริษัท Siam Land Flying – บริษัท Wingspan – บริษัท Asia Ground Service (AGS) – บริษัท Pan Thai Air – บริษัท Thai Cargo – บริษัท LSG Sky Chefs Thailand – บริษัท Lufhansa Services Thailand – บริษัท King Power – The Coral Executive Lounge Thailand |